กระเบื้องยาง วัสดุปูพื้นสมัยใหม่

“กระเบื้องยางลายไม้” หรือ “กระเบื้องไวนิลลายไม้” วัสดุปูพื้นภายในบ้านที่ทดแทนการใช้ไม้จริงในปัจจุบัน จัดเป็นหนึ่งในตัวเลือกสุดฮิต สำหรับคนรักบ้าน หรือนักออกแบบ ด้วยคุณสมบัติหลากประการที่เหนือกว่าไม้จริงจนหักล้างข้อด้อยบางอย่างได้ อย่างไรก็ดี ในหมวดหมู่กระเบื้องยางหรือกระเบื้องไวนิลยังแบ่งได้อีกหลายประเภทอีกด้วย และยังมีลวดลายอื่น ๆ นอกเหนือจากลายไม้ รวมทั้งยังมีวัสดุใหม่อย่าง “กระเบื้อง LVT” “กระเบื้อง WPC” และ “กระเบื้อง SPC” ที่ใช้งานได้หลากหลายและคงทนมากยิ่งขึ้นด้วย

กระเบื้องยาง หรือ กระเบื้องไวนิล ?
ย้อนกลับไปสักประมาณช่วง 10-20 ปีก่อนหน้านี้ เราจะคุ้นเคยกับ “กระเบื้องยาง” ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็น ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล สำนักงาน บ้าน และอาคารเรียน ต่อมาในช่วงหลัง 10 ปี เริ่มได้ยินชื่อ “กระเบื้อง PVC กระเบื้องไวนิล กระเบื้อง LVT” บ้าง

โดยเป็นวัสดุพื้นชนิดเดียวกัน จัดเป็นวัสดุในกลุ่มพอลิเมอร์ เพราะใช้ PVC เป็นส่วนประกอบหลัก (โดยคำว่า PVC นั้นย่อมาจาก Poly Vinyl Chloride) แต่กระบวนการผลิตและส่วนผสมต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาช่วยเพิ่มคุณสมบัติบางประการของวัสดุ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละพื้นที่มากยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยลดขั้นตอนการติดตั้งอีกด้วย

พบเห็นได้ 2 แบบ แบบแรก คือ แบบแผ่น นำมาปูต่อกันเรียกว่า “กระเบื้องยางแผ่น” กับอีกแบบที่เป็นแผ่นขนาดใหญ่มาเป็นม้วนที่เรียกกันว่า “กระเบื้องยางม้วน” ซึ่งมีคุณสมบัติแต่ละชั้นดังนี้

ชั้นบนสุด (Wear Layer) เป็นวัสดุเคลือบผิวประเภท PVC ความหนาประมาณ 0.15-0.5 มม. ช่วยทำหน้าที่ปกป้องชั้นฟิล์มดังกล่าว ซึ่งความหนาของชั้นผิวเคลือบที่มากขึ้นช่วยเพิ่มความแข็งให้กับแผ่นกระเบื้องยาง นอกจากนี้ผิวบนสุดของ Wear Layer จะเคลือบด้วย Polyurethane อีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันน้ำ รังสี UV รอยขีดข่วน และคราบสกปรกที่เกิดจากการใช้งาน รวมถึงควบคุมลักษณะความมัน เงา หรือด้านของพื้นผิวกระเบื้องยางด้วย

ชั้นกลาง (Middle/Core Layer) เป็นชั้นวัสดุหลักก็คือ ไวนิล/PVC โฟม ที่มีคุณลักษณะต่างกันไปตามแต่ละผู้ผลิตจะเลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนตัว ยืดหยุ่น เหนียว นุ่ม ฯลฯ เช่น กระเบื้องยางเนื้อนุ่มจะใช้โฟมเป็นวัสดุชั้นกลาง และคืนตัวได้ดีถึงแม้จะถูกกดทับเป็นเวลานาน เป็นต้น ผิวบนของวัสดุชั้นกลางนี้จะพิมพ์หรือเคลือบฟิล์มที่มีสีและลวดลายต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นสีเรียบ ลายหิน ลายไม้ ลายพื้นไม้ปาร์เกต์ ฯลฯ

ชั้นล่างสุด (Bottom/Base Layer) เป็นวัสดุไฟเบอร์กลาสซึ่งช่วยเสริมความแข็งแรง และชั้นที่เป็น ไวนิล/PVC หรือโฟม อีกชั้น ที่บางกว่าชั้นกลางเพื่อช่วยเพิ่มความคงตัวให้กันแผ่น โดยผิวล่างสุดของชั้นนี้มักจะเคลือบสาร Anti-Mould ป้องกันการเกิดเชื้อราด้วย

ทั้งสามชั้นของแผ่นกระเบื้องยาง เมื่อรวมกันมีความหนาเพียงแค่ 1.2-4.0 มม. ความหนาของแผ่นกระเบื้องยางจะส่งผลต่อการเตรียมพื้นผิวก่อนติดตั้ง โดยที่กระเบื้องยางยิ่งบางเท่าไรยิ่งต้องเตรียมพื้นผิวให้เรียบมากขึ้นเท่านั้น


หากลูกค้าสั่งกระเบื้องยางยูนิลอฟท์ สามารถกดดู Catalog สินค้า ทางลิ้งด้านล่างนี้ได้เลยค่า
คลิ๊ก >> www.Uniloft.com

Facebook Comment

บทความสติ๊กเกอร์ฉลาดสินค้าดีๆ

การหดตัวและแตก ของกระเบื้องลามิเนต

การหดตัวและแตก ของกระเบื้องลามิเนต สิ่งสำคัญคือต้องหลีกเลี่ยงความชื้นและความชื้นที่มากเกินไป เนื่องจากอาจทำให้เกิดการขยายตัวและหดตัวซึ่งทำให้เกิดการหดตัวและแตกหักได้

อ่านเพิ่มเติม »